ลายพราง “Dazzle” ลายพรางเรือสุดแปลกที่ไม่ได้ใช้พรางตัว แต่ทำให้เรือศัตรูสับสน

สำหรับคนที่ติดตามเรื่องราวของวงการทหารกันมาคงจะทราบกันดีว่าการพรางตัวสำคัญต่อสงครามขนาดไหน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลายพรางจะถูกใช้งานกับทั้งทหารราบและยานพาหนะมากมายตลอดช่วงสงครามที่ผ่านมา

ว่าแต่เคยเห็นลายพราง “Dazzle” ที่ใช้กันบ่อยๆ ในกับเรือรบอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกันไหม เพราะหากดูเผินๆ แล้วเจ้าลายพรางอันนี้ ไม่ว่าดูอย่างไรก็ไม่น่าจะมีประโยชน์ในการพรางตัวเลย

 

 

ถ้าอย่างนั้นแล้วทำไมลายพรางที่ไม่มีประโยชน์ในการพรางตัวเช่นนี้จึงเป็นที่นิยมขึ้นมากัน? คำตอบคือเพราะลายพรางอันนี้ช่วยทำให้เรือดำน้ำของฝั่งเยอรมนีสับสนได้นั่นเอง

นั่นเพราะเมื่อมองเรือที่มีลายพรางแบบ Dazzle ผ่านกล้องของเรือดำน้ำ ลวดลายของเรือจะช่วยทำให้การคาดการขนาด ความเร็ว ระยะห่าง และทิศทางที่เรือจะแล่นผ่านเป็นไปได้ยากขึ้น เนื่องจากคนที่มองกล้องอยู่อาจสับสนว่าลายของเรือเป็นมุมของเรือจริงๆ

 

 

ลายพรางแบบ Dazzle ถูกคิดค้นใช้งานเป็นครั้งแรกโดยนายร้อยชื่อ Norman Wilkinson ผู้เคยเป็นศิลปินมาก่อน หลังจากที่เขาไปตกปลาในวันหยุดฤดูใบไม้ผลิเมื่อปี 1917

และหลังจากที่ใช้งานไปได้ไม่ถึงปีลายพรางของ Norman ก็ทำผลงานมากพอที่จะให้เรือของอังกฤษกว่า 2,300 ลำ ใช้ลายพรางนี้ในช่วงจบสงครามเลย แม้ว่าจะไม่มีรายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของลายพรางต่อเรือดำน้ำถูกบันทึกไว้เป็นสถิติก็ตาม

 

Norman Wilkinson เจ้าของผลงานลายพรางแบบ Dazzle

 

จากคำบอกเล่าของ Roy R. Behrens ศาสตราจารย์ด้านศิลปะและนักวิชาการดีเด่นแห่งมหาวิทยาลัย Northern Iowa ลายพรางแบบ Dazzle มีการใช้งานแม้แต่ในบรรดาสัตว์ป่าตามธรรมชาติ เพราะสัตว์อย่างม้าลายเองก็ใช้งานสีขาวสลับดำของตัวเองเพื่อหลอกสัตว์นักล่า (และแมลง) ให้สับสน มาเป็นเวลานานแล้ว

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราจะบอกว่าลายพรางแบบนี้น่าจะใช้งานได้จริงกับเรือดำน้ำในสมัยก่อน อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง

 

 

ลายพรางแบบ Dazzle ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพสหรัฐเพื่อป้องกันการโจมตีจากเครื่องบินของศัตรู

น่าเสียดายที่ด้วยความพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ลายพรางแบบนี้ก็มีการใช้งานที่ลดลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามลายพรางเหล่านี้ก็ยังสามารถถูกพบเห็นอยู่บ้างตามชุดทหารอยู่ดี

 

 

ที่มา historyartnet

Comments

Leave a Reply