นักวิทย์พบ จุลินทรีย์อาศัยในแร่ใต้ทะเลลึก เอาชีวิตรอดได้ในสภาพอากาศคล้ายดาวอังคาร

ตามปกติแล้วใต้ท้องทะเลลึกอย่างทะเลที่ญี่ปุ่น ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ และแรงดันน้ำที่สูงมากมักจะไม่ใช่สถานที่ที่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างจุลินทรีย์จะไปอยู่ได้เลย

ถึงอย่างนั้นเมื่อล่าสุดนี้เอง นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่ามีจุลินทรีย์ประเภทหนึ่งสามารถอาศัยอยู่ใต้น้ำลึก 60 เมตรได้จริงๆ ด้วยการขังตัวเองอยู่ในผลึกคริสตัลใต้ทะเล

 

จะสังเกตได้ว่าในผลึกแร่ มีจุดสีดำอยู่

 

นี่เป็นการค้นพบที่เกิดขึ้นโดยเหล่านักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเมจิ ซึ่งนำทีมโดยศาสตราจารย์ Glen Snyder โดยพวกเขาได้ทำการตรวจสอบ “น้ำผลึก” หรือ “ไฮเดรต” (Hydrate) สารประกอบที่มีโมเลกุลของน้ำซึ่งได้รับการเก็บมาจากทะเลลึกทางตะวันตกของประเทศ

พวกเขาพบว่าในไฮเดรตที่ได้มานั้นมีเศษแร่ที่เรียกกันว่าโดโลไมต์อยู่ภายใน และบนแร่โดโลไมต์ก็มีจุดสีดำซึ่งเป็นสัญญาณของสิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์อยู่อีกด้วย

 

แร่โดโลไมต์ตามปกติ

 

แถมจากการที่จุลินทรีย์อยู่ในผลึกเองก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่าการค้นพบในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของนักวิทยาศาสตร์เองอย่างแน่นอน

จากการตรวจสอบจุลินทรีย์นักวิทยาศาสตร์ก็พบว่า จุลินทรีย์เหล่านั้นจะเรืองแสงภายใต้แสง UV อาศัยอยู่ในก๊าซไฮเดรตและคงทนมากพอที่จะใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมของทะเลลึกได้

 

แร่โดโลไมต์ที่พบหลังถูกส่องด้วยกล้องขยาย 490 เท่า

 

นี่นับว่าเป็นเรื่องน่าสนใจมากเพราะดาวเคราะห์อื่นๆ อย่างดาวอังคารเองก็มีสภาพก๊าซไฮเดรตใกล้เคียงกับสถานที่ที่พบจุลินทรีย์นี้

นั่นหมายความว่า มีความเป็นไปได้ที่จุลินทรีย์ที่พบนี้จะสามารถเอาชีวิตรอดบนดาวอังคารได้ ซึ่งแม้ว่าจุลินทรีย์นี้จะยังไม่เคยมีการค้นพบในที่อื่น แต่มันก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตจากโลกไปอาศัยอยู่บนดาวอังคารได้จริงๆ นั่นเอง

 

ที่มา livescience


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply