นักวิทย์วิเคราะห์กระดูกหมูใกล้ “สโตนเฮนจ์” อาจถูกใช้จัดงานฉลองใหญ่มาก่อน

สโตนเฮนจ์เป็นหนึ่งในโบราณสถานหินขนาดยักษ์ ที่ได้ชื่อว่ามีชื่อเสียงที่สุดในโลก ตั้งอยู่ที่บริเวณตอนใต้ของเกาะอังกฤษ และมีอายุอย่างต่ำถึง 4,000 ปี

 

 

ตั้งแต่ในอดีตมาเหล่านักโบราณคดีได้ทำการถกเถียงและตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้งานของโบราณสถานแห่งนี้กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่ส่วนใหญ่เชื่อกันว่าที่แห่งนี้น่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมอะไรสักอย่าง

จนกระทั่งเมื่อล่าสุดนี้เองทีมนักโบราณคดีก็ได้ทำการค้นพบกระดูกของหมูจำนวนราวๆ 131 ตัว ถูกฝังเอาไว้ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสโตนเฮนจ์ และทำมาซึ่งทฤษฎีที่ว่าโบราณสถานแห่งนี้ในสมัยก่อนอาจจะเคยถูกใช้เป็นสถานที่จัดงานฉลองขนาดใหญ่ก็ได้

นั่นเพราะจากการตรวจสอบกระดูกหมูที่พบ นักวิทยาศาสตร์ก็ทราบว่ากระดูกเหล่านี้ไม่เพียงแต่มาจากช่วง 2,800-2,400 ปีก่อนคริสตกาลเท่านั้น แต่พวกมันยังมีอาหารการกินที่ต่างกันมาก ซึ่งเป็นหลักฐานอย่างดีที่แสดงให้เห็นว่าหมูเหล่านี้ถูกเคยถูกเลี้ยงในสถานที่ที่ต่างกัน และถูกพามารวมกันที่ใกล้ๆ สโตนเฮนจ์เพื่อใช้ในงานฉลอง

 

 

จากรายงานการทดลองในบรรดาหมูที่พบมีอย่างน้อยๆ 5 ตัวที่เดินทางมาจากสกอตแลนด์และอีกหลายๆ ส่วนก็น่าจะเดินทางมาจากเวลส์ อ้างอิงจากการพบ สตรอนเชียม-87 สารที่พบบ่อยๆ ในกระดูกสัตว์ที่มาจากพื้นที่เหล่านี้

นี่นับว่าเป็นการเดินทางที่ถือว่าค่อนข้างไกล และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในสมัยก่อนเลย เพราะหมูนั้นไม่ใช่สัตว์ที่เหมาะสมกับการเดินไกลๆ ด้วยเท้าแบบในสมัยก่อน

นั่นหมายความว่าไม่ว่างานฉลองที่จัดขึ้นที่สโตนเฮนจ์นั้น น่าจะต้องมีความสำคัญเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงสามารถทำให้คนยอมลำบากรวบรวมหมูมากขนาดนี้มาใช้

 

 

โดย Dr Richard Madgwick แห่งสำนักโบราณคดีและศาสนาจากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ หนึ่งในทีมวิจัยเล่าว่าการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงระดับความซับซ้อนของสังคมในสมัยในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

และหากการนำหมูเหล่านี้มาที่สโตนเฮนจ์จะมีเหตุผลเพื่อใช้ทำอาหารเลี้ยงแขกในงานจริงๆ งานฉลองที่เกิดขึ้นนั้น ก็อาจจะไม่ใช่แค่งานฉลองสำคัญเฉยๆ แต่อาจจะเป็นงานฉลองที่ยิ่งใหญ่มากที่สุดครั้งหนึ่งของสมัยนั้นเลย

 

ที่มา allthatsinterestingsciencemag และ iflscience

Comments

Leave a Reply