Tag: speak

  • “3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…

    “3 วิธีการพูด” ที่เป็นสัญญาณว่าคุณมีแนวโน้มของ “โรคซึมเศร้า” ลองไปสังเกตกันดู…

    ในสังคมปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าในสมัยก่อน โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะไม่เหมือนกับความรู้สึกเศร้าของคนทั่วไปที่เกิดขึ้นและหายไปเป็นครั้งคราว พวกเขาจะรู้สึกซึมเศร้าเป็นประจำและแต่ละครั้งก็ยาวนานกว่าปกติ แถมบ่อยครั้งยังไม่รู้สาเหตุของความเศร้าด้วย อย่างไรก็ตามการที่จะสังเกตว่าเราหรือคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางคนก็เป็นโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว หากอยากทราบแน่ชัดต้องไปให้จิตแพทย์วินิจฉัยเท่านั้น แต่ในวันนี้มีอีกหนึ่งวิธีสังเกตที่ได้ผ่านผลการรับรองจากนักวิจัยแล้ว ด้วยการสังเกตจากวิธีพูดของแต่ละคนนั่นเอง     งานวิจัยที่ว่านี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ Clinical Psychological Science โดยทำการทดลองจากการอ่านบันทึก และฟังบทสนทนาจำนวนมากของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า และคนที่ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า จึงสังเกตเห็นว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการใช้ภาษาที่แตกต่างออกไปดังนี้   1. มักจะใช้สรรพนามบุคคลที่หนึ่งที่เป็นเอกพจน์   คนเป็นโรคซึมเศร้ามักจะใช้สรรพนามกล่าวถึงตัวเองเช่น ฉัน ผม หรือเรา(ในกรณีที่หมายถึงตัวเองคนเดียว) อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากนัก อาจจะเป็นเพราะเพวกเขาชอบปลีกตัวมาอยู่คนเดียวมากกว่าจะอยู่คนจำนวนมากก็ได้ อีกทั้งการใช้สรรพนามแบบนี้ ยังทำให้เราเห็นว่าคนที่เป็นโรคซีมเศร้ามักจะให้ความสนใจกับตัวเองและแนวคิดของตัวเองมากเป็นพิเศษ และไม่ค่อยสนใจแนวคิดในแบบของคนอื่นมากนัก   2. พูดถ้อยคำที่มีความหมายในเชิงลบอยู่บ่อยครั้ง   เมื่อเปรียบเทียบกับคนทั่วไปแล้ว คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะใช้คำที่มีความหมายเชิงลบมากกว่า โดยคำพูดเหล่านั้นมักจะเกี่ยวกับอารมณ์ในเชิงลบเช่น เศร้า และเหงา เป็นต้น และยังรวมไปถึงคำพูดอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ของตัวเองด้วย แต่ผลการวิจัยก็ชี้ว่าการใช้สรรพนามบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้าได้ดีกว่าการใช้คำพูดในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด   3. ภาษาที่ใช้มักจะมีความสุดโต่ง   เมื่อคนเราอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มักจะใช้ภาษาแบบสุดโต่ง (ถ้าไม่ขาวก็ดำไปเลย ไม่มีระหว่างกลาง) มากกว่าที่คิด อย่างเช่นคำว่า เป็นประจำ ไม่เคย เต็มไปหมด…

  • ระวังตัวเอาไว้ให้ดี!! เผย 8 กลยุทธ์ในการจับโกหก จากอดีตเจ้าหน้าที่ FBI

    ระวังตัวเอาไว้ให้ดี!! เผย 8 กลยุทธ์ในการจับโกหก จากอดีตเจ้าหน้าที่ FBI

    ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่กระทำความผิด ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นผู้กระทำแต่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครได้รับรู้ กลายมาเป็นบ่อเกิดแห่งการโกหกและหลอกลวงเพื่อให้พ้นผิด     โดยที่อดีตเจ้าหน้าที่ FBI นามว่า LaRae Quy ผู้ที่ร่วมฝึกฝนและปฏิบัติหน้าที่ในการอ่านจิตใจของผู้คน เพื่อที่จะเค้นความจริงที่ปกปิดอยู่ภายใน ได้ออกมาเปิดเผยและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจับโกหก ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้   1. สร้างบรรยากาศที่ดีในการเปิดอกพูดคุย   โดยทั่วไปแล้วการสืบสวนเพื่อเค้นหาความจริง บทบาทของตำรวจที่ดีมักจะได้ผลดีกว่าตำรวจที่แย่เสมอ (ความเคร่งขรึมและทำร้ายร่างกายผู้ต้องหา) เพราะฉะนั้นแล้วการเห็นอกเห็นใจในระหว่างบทสนทนา จะช่วยสร้างความไว้ใจให้กับฝ่ายตรงข้าม จนยอมเปิดเผยความจริงให้เราได้รับรู้   2. สร้างความประหลาดใจกับคำถามที่คาดไม่ถึง   คนที่โกหกจะพยายามคาดเดาคำถามของฝ่ายตรงข้ามอยู่เสมอ ซึ่งคำตอบที่ออกมานั้นจะไหลลื่นและเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงอาจจะมีการฝึกซ้อมตอบคำถามมาก่อนด้วย ดังนั้นการถามคำถามที่พวกเขาคาดไม่ถึงจะทำให้การตอบคำถามชะงักไปในทันที จนเริ่มไม่มั่นใจที่จะตอบ   3. ให้ฟังมากกว่าพูด (สังเกตอาการของคู่สนทนา)   คนโกหกมักจะพูดมากกว่าคนที่พูดแต่ความจริง (มีแต่น้ำไม่มีเนื้อ) เพื่อพยายามโน้มน้าวและหลีกเลี่ยงประเด็นให้คนฟังรู้สึกคล้อยตามด้วยประโยคที่สลับซับซ้อนเพื่อซ่อนความจริง ลองสังเกตพฤติกรรมในระหว่างที่พูดอยู่ดังต่อไปนี้ 3.1 หากรู้สึกมีความตึงเครียด จะพูดเร็วกว่าปกติ 3.2 ยิ่งเครียดก็จะยิ่งพูดเสียงดังมากขึ้น 3.3 น้ำเสียงเริ่มไม่เป็นธรรมชาติ เปลี่ยนไปจากเดิมในตอนแรกที่เริ่มพูด 3.4 มักจะไอและล้างลำคอบ่อยๆ เวลาที่พูดแล้วรู้สึกเครียด…