Tag: power line

  • เพราะเหตุใดประเทศอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จึงเลือกที่จะไม่ฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน!?

    เพราะเหตุใดประเทศอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น จึงเลือกที่จะไม่ฝังสายไฟฟ้าลงใต้ดิน!?

    เมื่อพูดถึงเรื่องสายไฟฟ้า เสาไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เราก็มักจะนึกถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาก่อนเป็นอันดับแรก และจะตามมาด้วยความสวยงามของการจัดการระบบสายไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันหลากหลายประเทศก็เริ่มที่จะนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินแล้ว (และในบ้านเราก็เริ่มทำแล้วในบางจังหวัด)   ย้อนกลับไปดูสภาพของเมือง Jersey City หลังประสบกับพายุเฮอร์ริเคนแซนดี้ ในปี 2012   แต่ทว่าการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดินนั้นยังไม่อาจสามารถทำได้ครอบคลุมไปทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่เราคิดว่าก็ประเทศเหล่านั้นน่าจะทำได้ แต่ด้วยเหตุใดที่ประเทศก้าวหน้า ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นจึงไม่ทำ? ก่อนอื่นเลยต้องเกริ่นว่าประเทศเหล่านี้อยู่ในโซนที่เกิดภัยภิบัติอยู่บ่อยครั้ง อย่างสหรัฐอเมริกาจะต้องเจอกับพายุเฮอร์ริเคนและแผ่นดินไหว ส่วนทางฝั่งญี่ปุ่นก็ต้องเจอพายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวในทุกๆ ปี   แผนภาพพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของสหรัฐอเมริกา สีแดงจะเป็นระดับที่รุนแรงที่สุด   ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ตามมาก็คือความเสียหายต่อระบบสายส่งไฟฟ้า ซึ่งจะต้องทำการซ่อมแซมให้รวดเร็วที่สุด โดยเมื่อเทียบกันแล้ว แม้ว่าเสาไฟฟ้ากับสายไฟฟ้าที่อยู่เหนือพื้นดินจะเสียหายมากกว่า แต่สำหรับราคาการซ่อมนั้นถูกกว่าระบบสายไฟฟ้าฝังดินหลายเท่าตัว ดังนั้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยพิบัติสูงยังคงใช้ระบบสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินอยู่     สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายในการทำสายส่งไฟฟ้าลงดินจะแพงกว่าการทำสายส่งไฟฟ้าเหนือพื้นดินประมาณ 3 ถึง 10 เท่า ราคาของระบบสายไฟฟ้าเหนือพื้นดินจะอยู่ที่ 285,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจะอยู่ที่ 1,000,000 ดอลลาร์ต่อ 1.6 กิโลเมตร (ข้อมูลล่าสุดในปี 2015)…