Tag: สารเสพย์ติด

  • นักวิทย์ฯ ขี้สงสัย ถ้าหากว่า ‘แมงมุมเสพยา’ มันจะชักใยออกมาเป็นรูปแบบไหนบ้างนะ??

    นักวิทย์ฯ ขี้สงสัย ถ้าหากว่า ‘แมงมุมเสพยา’ มันจะชักใยออกมาเป็นรูปแบบไหนบ้างนะ??

    ก่อนหน้านี้หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นการทดลองเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะกันมาบ้างแล้ว และนอกจากยาเสพติดอย่างกัญชา LSD แอมเฟตามีน และโคเคนจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของมนุษย์แล้ว มันยังส่งผลต่อพวกสัตว์อีกด้วยเช่นกัน!! ในปี 1948 นาย Peter N. Witt เภสัชกรชาวสวิตเซอร์แลนด์จากมหาวิทยาลัย Tübingen ของประเทศเยอรมนีได้ทำการทดลองผลกระทำจากยาเสพติดกับสัตว์ร่วมกับคุณ Peters ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสัตว์โดยใช้แมงมุมเป็นสัตว์ทดลองในครั้งนี้     การทดลองครั้งนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญหลังจากที่คุณ Peters พยายามจะแก้ปัญหาการชักใยของแมงมุมให้นานขึ้น เพราะเขามักจะพลาดการบันทึกภาพระหว่างที่พวกมันชักใย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นประมาณตี 2 ถึงตี 5 และหลังจากที่ได้ปรึกษากับคุณ Witt ทั้งสองจึงลองใช้สารเสพติดเพื่อแก้ปัญหานั้น ทั้งสองได้ทำการผสมสารเสพติดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกัญชา ยากล่อมประสาท mescaline มอร์ฟีน สโคโปลามีน และแอมเฟตามีน เข้ากับน้ำตาลก่อนที่จะทำการหยดให้กับพวกแมงมุม 1 หยด แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับไม่ใช่การชักใยที่นานขึ้น แต่กลับเป็นรูปแบบของใยที่แปลกไป!!   Peter N. Witt ระหว่างที่กำลังหยดสารสะลายให้กับแมงมุม   จากผลการศึกษาที่เขียนไว้ในงานวิจัยเรื่อง Spider Webs and Drugs ที่ตีพิมพ์ในปี 1954 กล่าวว่าการใช้ยาเสพติดที่ต่างชนิดกันนั้นจะทำให้ได้รูปแบบของใยแมงมุมที่แตกต่างกันไป และจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้พวกเขาสามารถทดสอบการออกฤทธิ์ของยากับมนุษย์ได้อีกด้วย   แมงมุมสายพันธุ์ zilla x-notata เพศเมียที่ถูกนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เนื่องจากขนาดตัวที่ใหญ่กว่าเพศผู้ และชักใยได้มากกว่านั่นเอง   และนี่คือผลจากการใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ (ภาพเปรียบเทียบระหว่างไม่ได้รับสารกระตุ้นกับรับสารคาเฟอีนเข้าไปแล้ว)   โดยการใช้สารคาเฟอีนปริมาณ…